กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/897
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorธนากฤต ชื่นพร้อมen_US
dc.contributor.authorอัคคกร ไชยพงษ์en_US
dc.date.accessioned2021-12-24T07:18:50Z-
dc.date.available2021-12-24T07:18:50Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.citationการค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์en_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/897-
dc.descriptionการค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และลักษณะความผิดทางอาญา ที่สามารถนาเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นพนักงานสอบสวนตามหลักกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ 2) ศึกษาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นพนักงานสอบสวนของประเทศไทยและของต่างประเทศ และ 3) ศึกษาแนวทางการนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นพนักงานสอบสวนที่เหมาะสมกับมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในปัจจุบัน ในรูปแบบของงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้วิธีการวิจัยแบบเอกสาร (Documentary research) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือและตรงกับสถานการณ์จริงในปัจจุบัน โดยศึกษาจากกฎหมายเกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น ระเบียบสานักงานตารวจแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคาร้องขอไกล่เกลี่ยเกี่ยวกับข้อพิพาททางอาญา การพิจารณาและระยะเวลาสั่งคาร้อง และกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา พ.ศ. 2562 บทความวิจัย บทความวิชาการ ศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน รวมถึงเสนอแนะแนวทางการนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นพนักงานสอบสวนที่เหมาะสมกับมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในปัจจุบัน ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562 เป็นกฎหมายกลางเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท บัญญัติให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน ภายใต้ความประสงค์และความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ซึ่งพนักงานสอบสวนจะต้องดาเนินการตามเจตนารมณ์ของคู่กรณี โดยสานักงานตารวจแห่งชาติได้อาศัยอานาจตามมาตรา 44 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562 ออกระเบียบสานักงานตารวจแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคาร้องขอไกล่เกลี่ยเกี่ยวกับข้อพิพาททางอาญา การพิจารณาและระยะเวลาสั่งคาร้อง และกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา พ.ศ. 2562 แต่กลับพบว่า ระเบียบสานักงานตารวจแห่งชาติดังกล่าว ได้กาหนดให้พนักงานงานผู้มีอานาจออกคาสั่งให้มีการไกล่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญา ไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบสานวน รวมถึงไม่ได้กาหนดขอบเขตการใช้ดุลยพินิจพิจารณา “พฤติการณ์ของการกระทาความผิดไม่ร้ายแรงและไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคมโดยรวม” ไว้อย่างชัดเจน เป็นผลให้อานาจดุลยพินิจของหัวหน้าหน่วยงานที่มีอานาจสอบสวนแต่ละหน่วยงานไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งทาให้การนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นพนักงานสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562 ไม่มีประสิทธิภาพ ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ประการแรก สานักงานตารวจแห่งชาติ ควรกาหนดคานิยามของ “พฤติการณ์ของการกระทาความผิดไม่ร้ายแรงและไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคมโดย”เป็น 2 ระดับ คือ ระดับแรก กาหนดให้ความผิดตามมาตรา 41(1) และ (2) ไม่ถือว่าเป็นพฤติการณ์ของการกระทาความผิดไม่ร้ายแรงและไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคมโดยรวมให้พิจารณามีคาสั่งให้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาได้ ระดับที่สอง กาหนดให้ความผิดตาม มาตรา 41(3) ด้วยการพิจารณาความเสียหายทางแพ่งต้องไม่เกิน 10,000 บาท หรือผู้เสียหายไม่เกิน 2 คน หรือการกระทาที่ไม่เป็นภัยต่อสังคม เพื่อจากัดขอบเขตอานาจดุลยพินิจของหัวหน้าหน่วยงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมถึงควรกาหนดเป็นนโยบายให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นการสอบสวนทุกคดี เว้นแต่คู่กรณีไม่ยินยอม หรือพฤติการณ์แห่งคดีกระทบต่อสังคมอย่างรุนแรง และต้องให้ “ พนักงานสอบสวนผู้มีอานาจออกคาสั่ง” เป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อไม่ให้เกิดข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการใช้อานาจหรือความชอบด้วยกฎหมาย ประการที่สอง การใช้ดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน และพนักงานสอบสวนผู้มีอานาจออกคาสั่งที่อยู่ในกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแล้ว อาจเกิดความผิดพลาดหรือการนาคดีสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ไม่เป็นธรรมได้ ดังนั้นตามท้ายบัญญัติ แห่งพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ควรให้อานาจพนักงานอัยการสามารถสั่งให้พนักงานสอบสวนยุติกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ และให้นาคดีนั้นเข้าสู่กระบวนการสอบสวนตามกระบวนการยุติธรรม โดยให้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้นเป็นอันยุติไปเนื่องมาจากความไม่โปร่งใส และใช้อานาจโดยมิชอบในการนากระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพาทมาใช้ในชั้นพนักงานสอบสวน ประการที่สาม ควรมีกฎหมายใหม่มารองรับเป็นข้อยกเว้นหรือเป็นการเบี่ยงเบนคดีในคดีอาญาบางประเภทที่ไม่สมควรที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก (Main Stream Criminal Justice) โดยการจัดทากฎหมายต้นแบบว่าด้วยการกระงับข้อพิพาททางอาญา พ.ศ…… ด้วยการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ให้สามารถใช้ในการยุติหรือระงับข้อพิพาททางอาญาในคดีบางประเภทที่เป็นคดีอาญาแผ่นดิน ซึ่งพฤติการณ์ของการกระทาความผิดไม่ร้ายแรงและไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคมโดยหรือมีอัตราโทษจาคุกอย่างสูงไม่เกิน 5 ปี หรือการกระทาความผิดโดยประมาท เพื่อลดปริมาณคดีขึ้นสู่ชั้นศาล ลดปัญหาความขัดแย้งและสร้างสังคมแห่งความสมานฉันท์ได้เพิ่มมากขึ้นen_US
dc.description.sponsorshipคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.subjectการไกล่เกลี่ยen_US
dc.subjectดุลยพินิจของพนักงานสอบสวนen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562en_US
dc.titleปัญหาการระงับข้อพิพาทโดยการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนen_US
dc.title.alternativeDispute resolution issues by mediating criminal cases in the Inquiry officialen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is law thanakrit64.pdf308.1 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น