กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1066
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายในการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน กรณีศึกษาเหตุอันควรเชื่อตามกฎหมายฟอกเงิน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal Problems in Seizure or Confiscation of Property : A Case Study of Reasonable Grounds to Believe Under the Law of Money Laundering
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรพจน์ ทองตะกุก
อัคคกร ไชยพงษ์
คำสำคัญ: การฟอกเงิน
คำสั่งยึดอายัดทรัพย์สิน
หลักสิทธิมนุษยชน
วันที่เผยแพร่: 22-เมษ-2567
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
บทคัดย่อ: การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพปัญหาและแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการยึดอายัดทรัพย์สิน ตามกฎหมายฟอกเงิน (2) กฎหมายของประเทศไทยและกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับการยึดอายัดทรัพย์สิน ตามกฎหมายฟอกเงิน (3) แสวงหาแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการกฎหมายในการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ตามกฎหมายฟอกเงิน ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า มาตรการกฎหมายในการยึดอายัดทรัพย์สินตามกฎหมายฟอกเงิน มาตรา 48 วรรคหนึ่ง เป็นการดำเนินการที่ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนว่าด้วย สิทธิในทรัพย์สินของบุคคล เนื่องจากกฎหมายอาศัยแต่เพียง “เหตุอันควรเชื่อ” โดยไม่ต้องอาศัยพยานหลักฐาน ตามสมควรมาประกอบการพิจารณาแต่อย่างใด อันแตกต่างไปจากความคุ้มครองสิทธิโดยรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1787 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 4 ที่กำหนดหลักประกันสิทธิว่ารัฐจะไม่สามารถยึดทรัพย์สินโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ กล่าวคือ จะต้องมีเหตุอันควรเชื่อประกอบเข้ากับพยานหลักฐานตามสมควร และภายใต้วิธีการของพระราชบัญญัติรายงานธุรกรรมทางการเงิน ค.ศ. 1988 มาตรา 32 ของเครือรัฐออสเตรเลีย ได้บัญญัติรับรองในการถ่วงดุลอำนาจ โดยมอบให้ศาลเป็นผู้มีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามกฎหมายฟอกเงิน มิใช่การมีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน โดยเจ้าพนักงานดังเช่นกฎหมายการฟอกเงินของประเทศไทย จากผลการศึกษาได้ค้นพบจึงควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง ใน 2 กรณี ได้แก่ ก) การกำหนด ให้มีการอาศัยการพิสูจน์ตามสมควรที่จะต้องมีพยานหลักฐานมาสนับสนุนในการมีคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน และ ข) การกำหนดให้เกิดการถ่วงดุลของผู้ใช้อำนาจ โดยให้ศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจดังกล่าวแทนที่คณะกรรมการธุรกรรม
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1066
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is LAW67 Worapoj.pdfบทความ, วรพจน์576.07 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น