กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1062
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและค่านิยมทางสังคมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือก โรงเรียนกวดวิชาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing mix Factors and social values that affect the decision to choose tutoring schools in Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กัญทพัทธ์ สุปันตี
อัจฉวรรณ รัตนพันธ์
คำสำคัญ: ส่วนประสมทางการตลาด
การตัดสินใจ
โรงเรียนกวดวิชา
ค่านิยมทางสังคม
วันที่เผยแพร่: 22-เมษ-2567
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงเรียนกวดวิชา 2) ระดับค่านิยมทางสังคมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงเรียนกวดวิชา และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและค่านิยมทางสังคมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงเรียนกวดวิชา เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปกครองของนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของคอแครน ได้จำนวน 385 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเรื่องปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและค่านิยมทางสังคมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงเรียนกวดวิชาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแบบเลือกตอบตามรายการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅=3.73) โดยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านกระบวนการให้บริการ และด้านการส่งเสริมการตลาด 2) ระดับความคิดเห็นต่อค่านิยมทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅=4.15) โดยด้านพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านความรู้สึกผูกพัน และด้านความระลึกรู้ ระดับความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเลือกโรงเรียนกวดวิชาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅=4.01) โดยด้านการค้นหาข้อมูลมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านการประเมินผลทางเลือก และด้านการรับรู้ถึงความต้องการ และ 3) ผลการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงเรียนกวดวิชาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี (Y) ผ่านตัวแปรอิสระส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วย ด้านราคา (0.139)* ด้านบุคลากร (0.307)** ด้านกระบวนการให้บริการ (0.132)* และค่านิยมทางสังคม ประกอบด้วย ด้านความระลึกรู้ (0.115)* และด้านพฤติกรรม (0.053)* ซึ่งสามารถสร้างสมการทางคณิตศาสตร์ได้ต่อไปนี้ Y = 2.904 + 0.066(X2) + 0.151(X5) + 0.062(X6) + 0.103(X8) + 0.023(X10)
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1062
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
isMBA67_kuntapat.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต1.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น