กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1027
ชื่อเรื่อง: | มาตรการทางกฎหมายในการปล่อยชั่วคราวแทนการออกหมายขัง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal Measures for Povisional Release Instead of Issuing a Warrant of Detention |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จมาพร หมื่นชนะ จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ |
คำสำคัญ: | มาตรการควบคุมโดยศาล การปล่อยชั่วคราว |
วันที่เผยแพร่: | 1-กัน-2566 |
สำนักพิมพ์: | บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
แหล่งอ้างอิง: | บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวคิด ทฤษฎี และมาตรการในการควบคุมบุคคลไว้ในระหว่างการสอบสวน 2) มาตรการทางกฎหมายทั้งในส่วนของประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวบุคคลไว้ระหว่างการสอบสวน และ 3) มาตรการอื่นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ต้องหาหลบหนี ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ก่อเหตุอันตราย โดยไม่ต้องออกหมายขัง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งศึกษาจากเอกสารเป็นสำคัญ โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์และเรียบเรียงในรูปแบบพรรณนาความเพื่อกำหนดมาตรการทางกฎหมายอื่นที่ศาลจะนำมาใช้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาโดยไม่ต้องออกหมายขัง จากการศึกษาพบว่า 1) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และมาตรฐานขั้นต่ำขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการไม่ควบคุมตัว ต่างรับรองและคุ้มครองบุคคลเกี่ยวกับสิทธิในการปล่อยชั่วคราวโดยการนำมาตรการทางเลือกอื่นมาใช้แทนการจำกัดสิทธิเสรีภาพ 2) การควบคุมตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐของสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมณี จะพิจารณาเหตุจำเป็นที่จะต้องควบคุมตัวเป็นสำคัญ หากปรากฎว่าไม่มีเหตุจำเป็นในการควบคุมตัวแล้วศาลจะปล่อยไปเสมอโดยไม่จำเป็นต้องใช้หลักประกันแต่อย่างใด โดยจะกำหนดมาตรการอื่นแทนการเรียกหลักประกัน เช่น ให้มารายงานตัวต่อศาล ให้มาศาลตามกำหนดนัด ห้ามย้ายที่อยู่ ห้ามไปพบผู้เสียหาย หรือเงื่อนไขอื่น ๆ ที่จะเป็นมาตรการป้องกันไม่ให้ผู้ต้องหาไปกระทำผิดต่อไป ส่วนในประเทศไทยการพิจารณาปล่อยชั่วคราวโดยการนำมาตรการควบคุมโดยศาลมาใช้บังคับมีเพียงการให้ผู้ต้องหาสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะมาตามนัดหรือหมายเรียกในกรณีการปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกัน และเจ้าพนักงานอาจปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่ของผู้ถูกปล่อยชั่วคราว หรือกำหนดเงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติ หรือการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทาง เพื่อป้องกันการหลบหนี หรือป้องกันภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยชั่วคราวเท่านั้น และ 3) ตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับคำสั่งหรือหมายอาญา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2565 และข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวและวิธีเรียกประกันในคดีอาญา พ.ศ. 2565 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกับมาตรการควบคุมโดยศาลของสาธารณรัฐฝรั่งศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในการใช้มาตรการอื่นแทนระบบการใช้หลักทรัพย์หรือเงินประกันโดยไม่ต้องออกหมายขัง โดยให้ผู้มีอำนาจปล่อยชั่วคราวใช้ดุลพินิจพิจารณางดออกหมายขังและปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหโดยการนำมาตรการทางศาลมาใช้บังคับตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว และแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ให้สอดคล้องกับของสาธารณรัฐฝรั่งศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี |
รายละเอียด: | บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต |
URI: | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1027 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Laws : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
is66law Jamaporn.pdf | บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต | 775.72 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น