กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1026
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสิริวรรณ แพชนะen_US
dc.contributor.authorจิตรดารมย์ รัตนวุฒิen_US
dc.date.accessioned2023-09-16T09:54:25Z-
dc.date.available2023-09-16T09:54:25Z-
dc.date.issued2566-09-01-
dc.identifier.citationบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์en_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1026-
dc.descriptionบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาหลักเกณฑ์การเสียค่าธรรมเนียมศาลในคดีปกครองตามกฎหมายพระราชบัญญัติจัดตังศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.254 2)ศึกษาแนวคำพิพากษาของศาลปกครองเกี่ยวกับการเสียค่าธรรมเนียมศาลตามพระราชบัญญัติจัดตังศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.2542ซึ่งดำเนินการศึกษาในลักษณะวิจัยเชิงคุณภาพการวิเคราะห์เอกสารโดยศึกษาเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราวิชาการ วิทยานิพนธ์ บทความจากวารสารหรือนิตยสารทางกฎหมาย เอกสารประกอบการสัมมนา สถิติ และข้อมูลจากเว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศและในประเทศเกี่ยวกับมาตรการการเสียค่าธรรมเนียมศาลในคดีปกครอง จากการศึกษาพบว่าการฟ้องคดีแพ่งกับการฟ้องคดีปกครองมีหลักการเสียค่าธรรมเนียมศาลที่ต่างกันกล่าวคือในการดำเนินคดีทางแพ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ยื่นคำฟ้องต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เว้นแต่มีกฎหมายยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลซึ่งเหตุที่ต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมศาลในคดีแพ่งเนื่องจากการดำเนินคดีแพ่งแต่ละเรื่องนั้น มีขั้นตอนและค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าดำเนินการทางธุรการศาลหรือค่าใช้จ่ายในทางศาลเองแต่สำหรับการฟ้องคดีปกครองนั้น โดยหลักคือผู้ฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลเว้นแต่กรณีมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) หรือ (4)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 คือ คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดและความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรและคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองที่ผู้ฟ้องคดีต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามมาตรา 45วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 อย่างไรก็ตามเมื่อศึกษาพบว่ามีแนวทางเพื่อให้การยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่อศาลที่อยู่ในเขตอำนาจ ไม่ว่าจะอยู่ในเขตศาลแพ่ง หรือศาลปกครองอยู่บนหลักแห่งความเสมอภาคควรบัญญัติหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนแน่นอนเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาล สำหรับการคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่อศาลปกครอง โดยควรที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 45 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 จากที่บัญญัติว่า “การฟ้องคดีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เว้นแต่การฟ้องคดีขอให้สั่งให้ใช้เงินหรือส่งมอบทรัพย์สินอันสืบเนื่องจากคดีตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) หรือ (๔) ให้เสียค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์ในอัตราตามที่ระบุไว้ในตาราง ๑ ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง สำหรับคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้” โดยควรบัญญัติเพิ่มความในตอนท้ายต่อท้ายบทบัญญัติเดิมว่า “และการยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการสำหรับคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ให้เสียค่าธรรมเนียมศาลตามทุนทรัพย์ในอัตราที่ระบุไว้ในข้อ (1) (ข) ของตารางเดียวกันen_US
dc.description.sponsorshipบัณฑิตวิทยาลัย และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectค่าฤชาธรรมเนียมศาลen_US
dc.subjectอนุญาโตตุลาการen_US
dc.subjectคดีปกครองen_US
dc.titleปัญหาการกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมศาลในการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในคดีปกครองen_US
dc.title.alternativeThe problem of specifying the court fee on the enforcement of the verdict of the arbitrator in the administrative caseen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is66law_siriwan1.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต760.92 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น