กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1006
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorธันวา รุกขาen_US
dc.contributor.authorบรรจง เจริญสุขen_US
dc.contributor.authorญาณิศา บุญจิตร์en_US
dc.date.accessioned2023-02-20T06:30:38Z-
dc.date.available2023-02-20T06:30:38Z-
dc.date.issued2566-02-20-
dc.identifier.citationบทความ, การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาen_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1006-
dc.descriptionการค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) พัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ประเมินผลการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดพังงา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ของเคมมิสและแม็คแท็กการ์ด มีวิธีดำเนินการ 4 ขั้นตอน 2 วงรอบ คือขั้นตอนที่ 1 การวางแผน ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติการ ขั้นตอนที่ 3 การสังเกตผล และขั้นตอนที่ 4 การสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดพังงา ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 13 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบทดสอบ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้แบบสังเกตพฤติกรรมการอบรม แบบบันทึกการนิเทศแบบประเมินทักษะ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน พบว่า โรงเรียนได้นำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการกำหนดหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรอยู่เสมอ ครูมีการนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้แต่ไม่ครบทุกกลุ่มสาระ ครูขาดความรู้ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และขาดทักษะในการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้บูรณาการตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้จัดทำเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการและด้านเจตคติ 2) ผลการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการสังเกตพฤติกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ และผลการนิเทศติดตามการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการสูงขึ้น ครูมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ และมีความพึงพอใจในการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมากที่สุดen_US
dc.description.sponsorshipบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectการพัฒนาครูen_US
dc.subjectการจัดการเรียนรู้en_US
dc.subjectแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงen_US
dc.titleการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดพังงา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษen_US
dc.title.alternativeTeacher Development on Learning Management Base on of Sufficiency Economy Philosophy A Case Study of Phang-Nga School for the Deaf Under Special Education Bureauen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_adm_thanwa66.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา824.16 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น