กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1001
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorณพิรภา ใสใจดีen_US
dc.contributor.authorจิตรดารมย์ รัตนวุฒิen_US
dc.date.accessioned2023-01-10T03:12:02Z-
dc.date.available2023-01-10T03:12:02Z-
dc.date.issued2566-01-10-
dc.identifier.citationบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์en_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1001-
dc.descriptionบทความวิจัย, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคต่อการกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนโดยเหตุสูญเสียสิทธิชุมชน และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนโดยเหตุสูญเสียสิทธิชุมชนของประเทศไทย ทั้งนี้ โดยอาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษา พบว่า กติการะหว่างประเทศว่า ด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ.1966 ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ค.ศ.1992 และปฏิญญาสากลแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนพื้นเมือง ค.ศ.2007 ต่างได้รับรองสิทธิชุมชนในเชิงจิตวิญญาณไว้อันหมายความรวมไปถึงการได้รับการตอบแทนจากการสูญเสียสิทธิชุมชน นอกจากนี้พระราชบัญญัติค่าตอบแทนที่ดิน ค.ศ 1961 (Land Compensation Act 1961) ของประเทศอังกฤษ ก็ได้รับรองให้ผู้ถูกเวนคืนมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากกรณีการพลัดพรากจากที่อยู่อาศัย (home loss payment) โดยกฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่จะชดใช้ให้ได้เพียงพอกับความรู้สึกหรือความเสียหายทางจิตใจจากการต้องสูญเสียถิ่นอาศัยมาแต่เดิม แต่เมื่อพิจารณาไปยังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2562 แล้ว มิได้บัญญัติให้ผู้ถูกเวนคืนที่สูญเสียสิทธิชุมชนสามารถเรียกค่าทดแทนจากการเวนคืนนั้นได้ ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะต่อกรณีศึกษา ดังนี้ 1) แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 43 เพื่อให้เกิดการรับรองการได้รับค่าทดแทนจากกรณีการสูญเสียประโยชน์จากสิทธิชุมชน 2) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2562 มาตรา 20 เพื่อให้น าระยะเวลาที่ได้อยู่อาศัยหรือความผูกพันต่อถิ่นอาศัย มาเป็นกรอบการพิจารณาเพื่อกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนen_US
dc.description.sponsorshipบัณฑิตวิทยาลัย และคณะนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectสิทธิชุมชนen_US
dc.subjectการเวนคืนen_US
dc.subjectค่าตอบแทนen_US
dc.titleปัญหาการกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนจากเหตุสูญเสียสิทธิชุมชนen_US
dc.title.alternativeProblems of Determining the Immovable Property Expropriation Price Due to the Loss of Community Rightsen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is66(law)Naphirapa .pdfบทความวิจัย, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี559.7 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น