กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/977
ชื่อเรื่อง: | ความรับผิดของรัฐ : กรณีศึกษาความเสียหายจากการจัดการอุทกภัย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | STATE LIABILITY : FLOOD MANAGEMENT DAMAGE |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชาญวิทย์ ช่วยมาก นพดล ทัดระเบียบ |
คำสำคัญ: | ความรับผิดของรัฐ ความเสียหายจากการจัดการอุทกภัย |
วันที่เผยแพร่: | 13-กัน-2565 |
สำนักพิมพ์: | บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
แหล่งอ้างอิง: | บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐอันเนื่องมาจากการจัดการอุทกภัย 2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐจากความเสียหายในการจัดการภัยพิบัติทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ และ 3) ศึกษาวิเคราะห์ ความรับผิดของรัฐในความเสียหายอันเกิดจากการจัดการอุทกภัย เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) จากเอกสาร ตำรา หนังสือ งานวิจัย บทความวิชาการและแนวคำพิพากษาของศาล เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐกรณีความเสียหายจากการจัดการภัยพิบัติ ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการอุทกภัยที่ใช้บังคับรัฐใช้อำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ปัญหาจากการบังคับใช้กฎหมายในสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติมีอยู่ 3 ประการ คือ ปัญหาเกี่ยวกับอนาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายในสถานการณ์ภัยทางธรรมชาติ ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ ปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องร้องไม่เป็นธรรม จึงส่งผลต่อการวินิจฉัยคดีของศาลปกครอง ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะให้รัฐใช้อำนาจในการบริหารจัดการอุทกภัย คือ 1 ควรมีบทนิยาม "ความรับผิดอย่างอื่น" ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ "ความรับผิดอย่างอื่น" ว่าหมายถึง ความรับผิดของฝ่ายปกครองที่มิได้เกิดขึ้นจากสัญญาทางปกครอง และไม่ใช่ความรับผิดทางละเมิด และมิได้หมายถึงความรับผิดอันเกิดจากนิติสัมพันธ์ในทางแพ่ง แต่ความรับผิดอย่างอื่นต้องเป็นความรับผิดที่เกิดขึ้นจากการใช้อนาจตามกฎหมายมหาชน จากกฎ คำสั่งทางปกครอง คำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรแล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิในทรัพย์สินของเอกชน 2 ควรมีระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการพิจารณาคดีความรับผิดอย่างอื่น โดยที่การกำหนดระเบียบเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีปกครองเป็นอำนาจของศาล แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งอาจสร้างความยากลำบากให้กับรัฐสภาระดับหนึ่งในการจัดทำร่างกฎหมาย แต่ก็เป็นเพียงความ ยากลำบากเพียงครั้งเดียว เพราะเมื่อผ่านการพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติไปแล้ว ฝ่ายตุลาการก็สามารถพิจารณาคดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นได้ง่ายขึ้นเพราะถือว่าได้รับการอนุมัติจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว 3) การกำหนดให้คดีความรับผิดโดยปราศจากความผิดหรือความรับผิดโดยเคร่งครัดบางกรณีที่ไม่ปรากฏความผิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในการกระทำดังกล่าว แต่หากในทางพิจารณาคดีพบว่า ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากความบกพร่อง ความหลงผิด ความไม่รู้ของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้สิทธิโดยสุจริต แต่มีผลทำให้ประชาชนหรือผู้ฟ้องคดีมีความเสี่ยงภัย หรือมีประชาชนบางกลุ่มได้รับภาระมากกว่าคนทั่วไปแล้ว ศาลปกครองสามารถนำหลักกฎหมายความรับผิดอย่างอื่น เช่น กฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาใช้ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหาย หรือกำหนดดอกเบี้ยในฐานะกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งแทนการนำหลักละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ 4) การกำหนดค่าตอบแทนพยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคม หรือจ่ายตามค่างานตามความเหมาะสม และกำหนดให้มีบัญชีระบุพยานผู้เชี่ยวชาญ เพราะการมีผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่พิพาทย่อมมีส่วนช่วยในการแสวงหาข้อเท็จจริงของศาลให้ความถูกต้อง ครอบคลุม และรวดเร็วมากขึ้น เพื่อศาลปกครองจะได้พิจารณาพิพากษาคดีได้อย่างยุติธรรม แม้ว่าประชาชนหรือผู้ฟ้องคดีจะยากไร้และไม่มีทนายความหรือไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่ลึกซึ้งในระบบหรือระเบียบของทางราชการก็ตาม |
รายละเอียด: | บทความ การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
URI: | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/977 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Laws : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
is law_chanwit65.pdf | 809.15 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น