กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/963
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสมฤทัย จันทร์คงen_US
dc.contributor.authorอัศว์ศิริ ลาปีอีen_US
dc.contributor.authorสุพัฒพงศ์ แย้มอิ่มen_US
dc.date.accessioned2022-07-25T04:52:07Z-
dc.date.available2022-07-25T04:52:07Z-
dc.date.issued2565-07-22-
dc.identifier.citationสาขาวิชาการเมืองการปกครองen_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/963-
dc.descriptionการค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการอุทยานธรรมเขานาในหลวง 2) วิเคราะห์คุณลักษณะทั่วไปของประชาชนที่มีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการอุทยานธรรมเขานาในหลวง 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการอุทยานธรรมเขานาในหลวงโดยองค์การบริหารส่วนตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 385 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ขณะที่การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 5 คน ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการอุทยานธรรมเขานาในหลวง โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านผู้เชื่อมร้อยเครือข่าย ด้านผู้อำนวยความสะดวก และด้านผู้ดำเนินการหลัก 2) คุณลักษณะทั่วไปของประชาชนที่มีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการอุทยานธรรมเขานาในหลวงแตกต่างกัน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ภูมิลำเนาเดิมและที่อยู่อาศัยในปัจจุบันและการรับรู้เกี่ยวกับบริบททั่วไปของอุทยานธรรมเขานาในหลวงส่วนเพศ ไม่มีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการอุทยานธรรมเขานาในหลวง 3) แนวทางพัฒนาการจัดการอุทยานธรรมเขานาในหลวง ควรสะท้อนบทบาทด้านผู้เชื่อมร้อยเครือข่ายการดำเนินงาน โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดทำบริการสาธารณะ โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การสร้างถนนและจัดทำระบบไฟส่องสว่าง เพื่อสนับสนุนกลไกเชิงบูรณาการการท่องเที่ยว รวมทั้งส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมระดับท้องถิ่นที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่en_US
dc.description.sponsorshipบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherการค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.subjectความคิดเห็นของประชาชนen_US
dc.subjectการบริหารจัดการen_US
dc.subjectอุทยานธรรมเขานาในหลวงen_US
dc.titleความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการอุทยานธรรมเขานาในหลวงขององค์การบริหารส่วนตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.title.alternativePublic Opinion on the Management of Khao Na Nai Luang Dharma Park by Tonyuan Subdistrict Administration Organization, Phanom District, Surat Thani Provinceen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_pol65 Somruethai.pdf6.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น