กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/961
ชื่อเรื่อง: การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Emination of the Government Authority under the Intendment of The Constitution of Kingdom of Thailand 2560 B.E.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤษดา ปี้บ้านท่า
ไชยวัฒน์ เผือกคง
อมร หวังอัครางกูร
คำสำคัญ: การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
รัฐธรรมนูญ
เจตนารมณ์
วันที่เผยแพร่: 22-กรก-2565
สำนักพิมพ์: การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
แหล่งอ้างอิง: สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารายละเอียด และความสำคัญว่าด้วยเรื่องของการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อวิเคราะห์เจตนารมณ์ในประเด็นว่าด้วยเรื่องของการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และเพื่อสะท้อนผลการบังคับใช้ และแนวทางการอนุวัตรให้เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในประเด็นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ผลการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยประชาชนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยฝ่ายนิติบัญญัติ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยองค์กรอิสระและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยฝ่ายตุลาการ ซึ่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่เขียนไว้มีความสมบูรณ์ในลักษณะเนื้อหา วิธีการตรวจสอบในกระบวนการต่าง ๆ มีการให้อำนาจประชาชน รัฐสภา องค์กรอิสระ และศาล ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น ดังจะเห็นได้โดยสรุปดังนี้ 1. การตรวจสอบ/เปิดเผยทรัพย์สิน หนี้สิน ของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (คณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการทางการเมือง และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมทั้งตรวจสอบและเปิดเผยผลการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของบุคคลดังกล่าวต่อคณะกรรการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. 2. การกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น การห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานของรัฐ ตำแหน่งในสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รวมถึงห้ามเป็นคู่สัญญากับรัฐ ไม่แทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้ารับสัมปทานจากรัฐ ตลอดจนถึงห้ามกระทำการใดเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ 3. การถอดถอนออกจากตำแหน่ง ซึ่งกรณี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มีพฤติการณ์ร่ำรวย ผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง อาจนำไปสู่การถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ 4. การดำเนินคดีอาญาต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กรณีเมื่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ตรวจสอบพบว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามที่กฎหมายกำหนด ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ หรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ฝ่าฝืนหรือ ประพฤติ ผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรง ป.ป.ช. มีอำนาจเสนอเรื่องให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้ โดยตรงกรณีดังกล่าว โดยไม่ต้องส่งสำนวนการไต่สวนไปยังอัยการสูงสุดให้ดำเนินการฟ้องคดี แต่หาก เป็นกรณีที่ ป.ป.ช. ไต่สวนและมีมติว่าบุคคลที่ถูกกล่าวหาดังกล่าวข้างต้น มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย จะต้องส่งสำนวนการไต่สวนไปยังอัยการสูงสุด เพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังจะได้บัญญัติหมวดใหม่เพิ่มเติม คือ หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ และหมวด 12 การปฏิรูปประเทศ ซึ่งไม่เคยมีในรัฐธรรมนูญฉบับใดมาก่อน เพื่อเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐผ่านการตรากฎหมายรองเพื่อมารองรับการใช้อำนาจรัฐ พร้อมทั้งอธิบายถึงวิธีการกระบวนการ กลไกในการตรวจสอบ ตลอดจนอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และมีประสิทธิภาพเกิดผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ที่ได้บัญญัติไว้
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/961
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_pol65 Kridsada.pdf6.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น