กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/958
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | กาญจนา ดิสระ | en_US |
dc.contributor.author | จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-07-25T04:13:49Z | - |
dc.date.available | 2022-07-25T04:13:49Z | - |
dc.date.issued | 2565-07-22 | - |
dc.identifier.citation | สาขาวิชานิติศาสตร์ | en_US |
dc.identifier.uri | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/958 | - |
dc.description | การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมาย ความเป็นมา และแนวคิดเกี่ยวกับการนำโทษปรับทางปกครองมาใช้แทนโทษทางอาญา 2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการนำโทษปรับทางปกครองมาใช้แทนโทษทางอาญา ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ 3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขการนำโทษปรับทางปกครองมาใช้แทนโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 โดยใช้วิธีการศึกษาแบบวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งเป็นการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล กฎหมาย หนังสือ เอกสาร บทความ วารสารกฎหมาย งานวิจัย วิทยานิพนธ์ สื่อออนไลน์ ตลอดจนเอกสารทางวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำโทษปรับทางปกครองมาใช้แทนโทษทางอาญาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เมื่อได้รวบรวมข้อมูลดังกล่าวแล้ว จึงได้ทำการวิเคราะห์โดยวิธีการเขียนอธิบาย ซึ่งเน้นในเรื่องปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการนาโทษปรับทางปกครองมาใช้แทนโทษทางอาญาในพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ยังไม่ได้นาหลักการบังคับโทษปรับทางปกครองมาบังคับใช้ มีเฉพาะกระบวนการทำให้โทษทางอาญาระงับ ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ซึ่งต่างกับกฎหมายว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติ และการจัดการภูมิทัศน์ (Act on Nature Conservation and Landscape Management) ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่ได้มีการนำโทษปรับทางปกครองมาใช้ในความผิดโดยทั่วไป ที่เป็น ความผิดที่ไม่ร้ายแรง ความผิดเกี่ยวกับการฝ่าฝืนคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ และความผิดเกี่ยวกับการไม่มีใบอนุญาตซึ่ง ได้กระทำในเขตอุทยานแห่งชาติ หรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข การขอรับใบอนุญาตตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนด ดังนั้น การนำโทษปรับทางปกครองมาใช้กับฐานความผิดตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 สมควรกำหนดฐานความผิดที่ได้กระทำผิดในเขตอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ตามมาตรา 42 วรรคสอง และมาตรา 45 หรือความผิดเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ตามมาตรา 47 มาตรา 49 และมาตรา 51 รวมถึงความผิด ในลักษณะไม่ปฏิบัติตามข้อกาหนดของใบอนุญาตในเขตอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ตามมาตรา 48 แต่เนื่องด้วยพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มิได้เปิดช่องให้นำโทษปรับทางปกครองมาใช้ได้ เพราะฉะนั้นผู้ศึกษาเห็นว่า ควรแก้ไขพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 42 วรรคสอง มาตรา 45 มาตรา 47 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง มาตรา 49 มาตรา 51 และมาตรา 52 โดยบัญญัติเพิ่มคำว่า “โทษปรับทางปกครอง” ลงในฐานความผิดแต่ละมาตราและควรมีการเพิ่มความมาตรา 52 วรรคสาม โดยบัญญัติว่า “การบังคับตามคำสั่งปรับทางปกครองตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ ให้นำกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ เพื่อให้การปรับทางปกครองตามที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มีแนวทางการบังคับตามคำสั่งปรับทางปกครอง ทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น | en_US |
dc.description.sponsorship | คณะนิติศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.subject | โทษปรับทางปกครอง | en_US |
dc.subject | โทษทางอาญา | en_US |
dc.subject | อุทยานแห่งชาติ | en_US |
dc.title | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำโทษปรับทางปกครองมาใช้แทนโทษอาญา ในพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 | en_US |
dc.title.alternative | Legal issues related to the application of administrative fines instead of criminal penalties in the National Park Act B.E. 2562 | en_US |
dc.type | Article | en_US |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Laws : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
is_law65 Kanchana.pdf | 8.82 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น