กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/951
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ชนาทิพย์ พยุงวัฒนา | en_US |
dc.contributor.author | จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-06-24T01:45:34Z | - |
dc.date.available | 2022-06-24T01:45:34Z | - |
dc.date.issued | 2565-06-24 | - |
dc.identifier.citation | สาขาวิชานิติศาสตร์ | en_US |
dc.identifier.uri | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/951 | - |
dc.description | นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของบุคคลผู้ถูกคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินในคดียาเสพติด 2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายประเทศไทย และต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิต่อการมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินในคดียาเสพติด 3) ศึกษาผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถูกคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินในคดียาเสพติด โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากข้อมูลปฐมภูมิ อาทิ บทกฎหมาย เป็นต้น และข้อมูลทุติยภูมิ อาทิ หนังสือ ตำรา บทความวิชาการ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรการในการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินในคดียาเสพติด จากการศึกษาพบว่า ประมวลกฎหมายยาเสพติด ได้รับรองให้อำนาจ “เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด” สามารถที่จะออกคำสั่งตรวจสอบทรัพย์สินได้แต่เพียงลำพัง โดยอาศัยเหตุจำเป็นเร่งด่วน และรายงานให้คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินทราบในภายหลังได้ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนี้ มิได้มีการถ่วงดุลดุลยพินิจจากบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดเลย โดยบุคคลที่จะถูกคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินในคดียาเสพติดเพื่อตรวจสอบ มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ต้องหา และ บุคคลภายนอก ใช้เหตุอันควรสงสัย ในกรณีมาตรการริบทรัพย์สินทางแพ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ได้นำมาเป็นหลักการเพื่อการพิจารณาทรัพย์สินที่จะถูกริบเช่นเดียวกัน เรียกว่า “เหตุอันควรเชื่อ ” อย่างไรก็ตาม กรณีเหตุอันควรสงสัย ภายใต้ประมวลกฎหมายยาเสพติด มิได้อธิบายและขยายความไว้โดยตรงแต่อย่างใด สำหรับกรณีของบุคคลภายนอกนั้น คำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินในคดียาเสพติดเพื่อตรวจสอบ จะมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุสงสัยว่าทรัพย์สินของบุคคลภายนอกนั้นเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ต้องหารายนั้น โดยทั้งผู้ต้องหาและบุคคลภายนอกเมื่อถูกคำสั่งตรวจสอบทรัพย์สินในคดียาเสพติดนี้แล้ว จะถูกเรียกว่า “ผู้ถูกยึดและอายัดทรัพย์สินในคดียาเสพติดเพื่อตรวจสอบ” เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามแม้ผู้ต้องหาหรือบุคคลภายนอกจะอยู่ในฐานะของผู้ถูกคำสั่งเช่นเดียวกัน แต่ในบริบทของความคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกคำสั่งดังกล่าวนี้ กลับปรากฏขึ้นในบริบทที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ในบริบทของผู้ต้องหา มีกฎหมายให้ความคุ้มครองซึ่งสิทธิกระบวนยุติธรรมทางอาญาไว้หลากหลายประการ อาทิ บทสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ สิทธิในการมีและปรึกษาทนายความ เป็นต้น แต่สำหรับบุคคลภายนอกแล้วมิได้รับความคุ้มครองซึ่งสิทธิในกระบวนการยุติธรรมนี้ไว้แต่อย่างใด เนื่องจากบุคคลภายนอกยังมิได้ตกอยู่ในฐานะของผู้ต้องหาในคดี ด้วยเหตุเช่นที่กล่าว จึงทำให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินในคดียาเสพติดระหว่างผู้ต้องหากับบุคคลภายนอกจึงดำรงอยู่ไม่เท่าเทียมกัน สำหรับในบริบทความคุ้มครองสิทธิของประมวลกฎหมายยาเสพติด ให้แก่ผู้ถูกคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินในคดียาเสพติดไม่ว่าจะในฐานะผู้ต้องหาหรือบุคคลภายนอกก็ตาม สิทธิที่กฎหมายรับรองไว้ให้ คือ “สิทธิในการเข้าชี้แจงที่มาและความสุจริตของทรัพย์สิน” เป็นสำคัญ แต่ทว่าในกรณีของกระบวนการกำหนดระยะเวลาที่เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติการจะได้กำหนดให้ผู้ถูกคำสั่งตรวจสอบทรัพย์สิน เข้ามาชี้แจงซึ่งที่มาและความสุจริตของบรรดาทรัพย์สินที่ถูกคำสั่งยึดและอายัดเพื่อตรวจสอบนี้ มิได้กำหนดเงื่อนเวลาในการดังกล่าวไว้แต่อย่างใด โดยพบว่าในทางปฏิบัติแล้วเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการจะใช้อำนาจดุลยพินิจออกหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินเข้าชี้แจงถึงที่มาของทรัพย์สิน ซึ่งต่างกำหนดกรอบระยะเวลาไว้แตกต่างกันอย่างไม่มีหลักเกณฑ์การพิจารณา จึงทำให้กระบวนการในการดำเนินการดังกล่าว ไม่มีบรรทัดฐานในการปฏิบัติการ ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินในคดียาเสพติดในประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) กำหนดหลักเกณฑ์เหตุอันควรสงสัยเพื่อการมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาในคดียาเสพติดในประมวลกฎหมายยาเสพติด 2) กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อการตรวจสอบความน่าเชื่อของหลักฐานในทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่จะถูกคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินในคดียาเสพติดเพื่อตรวจสอบ 3) การกำหนดให้พนักงานอัยการเข้ามาเป็นผู้ร่วมกับเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เพื่อพิจารณาการมีคำสั่งตรวจสอบทรัพย์สินในคดียาเสพติด ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน 4) กำหนดกระบวนการแจ้งสิทธิเพื่อการเข้าชี้แจงที่มาของทรัพย์สินภายหลังการมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินเพื่อตรวจสอบ 5) กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อการกำหนดระยะเวลาในการชี้แจงที่มาของทรัพย์สินที่ถูกคำสั่งยึดและอายัดเพื่อตรวจสอบ และ 6) กำหนดให้บุคคลภายนอก | en_US |
dc.description.sponsorship | นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.subject | ผู้ถูกคำสั่ง | en_US |
dc.subject | ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน | en_US |
dc.subject | คดียาเสพติด | en_US |
dc.subject | ตรวจสอบ | en_US |
dc.title | การคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินในคดียาเสพติด | en_US |
dc.title.alternative | Protection of Rights of Persons Subjected to An Order to Seize or Attach Assets in Drug Cases | en_US |
dc.type | Article | en_US |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Laws : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
is_law65Chanathip.pdf | 9.08 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น