กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/948
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorผกาวรรณ ราชรักษ์en_US
dc.contributor.authorอัศว์ศิริ ลาปีอีen_US
dc.contributor.authorสุพัฒพงศ์ แย้มอิ่มen_US
dc.date.accessioned2022-06-24T01:29:22Z-
dc.date.available2022-06-24T01:29:22Z-
dc.date.issued2565-06-24-
dc.identifier.citationสาขาวิชาการเมืองการปกครองen_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/948-
dc.descriptionการค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.description.abstractการค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจบริบทการดาเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม ภายหลังประกาศของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 96/2557 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการดาเนินงานของศูนย์ดำรง ธรรม และ 3) วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการดาเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ดาเนินงานในศูนย์ดำรงธรรมอำเภอพุนพิน จำนวน 50 คน กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างตามเป้าประสงค์ กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ จำนวน 10 คน คัดเลือกโดยวิธีแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .89 และแบบสัมภาษณ์เชิง ลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ เนื้อหาสาหรับข้อมูล เชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม กาหนดเป้าหมายดำเนินงานการแก้ไขปัญหา เร่งด่วนเป็นการเฉพาะ เนื่องจากอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 96/2557 ในการอำนวย ความยุติธรรมแก่ประชาชนพื้นที่อำเภอพุนพินในด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาหนี้สิน ปัญหาที่ดิน รวมทั้งปัญหาจากผู้มีอิทธิพล ทั้งนี้ ด้วยกลไกการทำงานเชิงรุกมากกว่าเชิงรับส่งผลให้ข้อร้องเรียนสามารถตอบสนองตามความต้องการของผู้ได้รับความเดือดร้อน อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความรวดเร็ว 2) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านค่านิยมร่วม ด้านกลยุทธ์ ด้านโครงสร้าง ด้านระบบ ด้านรูปแบบการบริหาร และด้านความสามารถของบุคลากร ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม ควรเพิ่มช่องทางให้บริการรับข้อร้องเรียน ผ่านระบบออนไลน์หรือการโทรศัพท์มากขึ้นเพื่อความสะดวกในการติดต่อขอรับบริการ และควรนำข้อคิดเห็นของประชาชนมา ปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงควรรูปแบบการบริหารจัดการโครงสร้าง รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถ ของบุคลากรในการประสานงาน พร้อมสร้างเครือข่าย ความร่วมมือไปยังหน่วยงานเกี่ยวข้อง สาหรับกาหนดเป็นแนวทางการ พัฒนาประสิทธิภาพการดาเนินงานต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherการค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.subjectการพัฒนาen_US
dc.subjectประสิทธิภาพen_US
dc.subjectศูนย์ดำรงธรรมen_US
dc.titleการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.title.alternativeDEVELOPING THE OPERATIONAL EFFICIENCY OF DAMRONGTHAM CENTER IN PHUNPHIN DISTRICT, SURAT THANI PROVINCEen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_pol65Phakawan.pdf4.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น