กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/939
ชื่อเรื่อง: ปรากฏการณ์การเข้าสู่ตาแหน่งทางการเมืองของสตรีในบทบาทผู้นาทางการเมืองท้องถิ่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Phenomenon of Women’s Entry into Political Positions in Role of Local Political Leaders in Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เทพแป้น
อัศว์ศิริ ลาปีอี
ไชยวัฒน์ เผือกคง
คำสำคัญ: ปรากฏการณ์
การเข้าสู่ตาแหน่งทางการเมืองของสตรี
ผู้นาการเมืองท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี
วันที่เผยแพร่: 30-พฤษ-2565
สำนักพิมพ์: การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
แหล่งอ้างอิง: สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
บทคัดย่อ: การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการการเข้าสู่ตาแหน่งทางการเมืองของสตรีในบทบาท ผู้นาทางการเมืองท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษาบทบาทและความสาคัญทางการเมืองของสตรีที่ดารงตาแหน่ง ทางการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3) เพื่อศึกษาเงื่อนไขที่ส่งเสริมกระบวนการสร้างพื้นที่ให้สตรีสามารถเข้า มามีบทบาททางการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จาก ผู้ให้ข้อมูลหลักจานวนรวม 15 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง อันสะท้อนภาพตัวแทนของสตรีที่เป็น ผู้นาทางการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในสัดส่วนที่เท่ากัน หน่วยละ 5 คน ภายใต้ความครอบคลุมบริบท ขององค์การบริหารส่วนตาบล เทศบาลรวมทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผลการศึกษาพบว่า 1) พัฒนาการเข้าสู่ตาแหน่งทางการเมืองของสตรีระดับท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เริ่ม เป็นผลตามคาสั่งวุฒิสภา ที่ 651/2563 เรื่อง ตั้งคณะกรรมการโครงการส่งเสริมบทบาทสตรีผู้นาองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นสู่ผู้นาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย นับเป็นนัยยะสาคัญสาหรับขยายบทบาททางการเมืองของสตรีระดับ ท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่เชื่อมโยงกับปัจจัยของการมีญาติพี่น้องเคยดารงตาแหน่ง ความชอบและอยากพัฒนา หมู่บ้าน/ชุมชนบนฐานของความรักประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้ง 2) บทบาททางการเมืองของสตรีเกิดขึ้นได้จากการ เห็นคุณค่าและความเชื่อมั่นในตนเองประกอบกับการส่งเสริมด้านการศึกษาและความพร้อมของครอบครัว นับว่ามีผลต่อ การส่งเสริมให้สตรีก้าวเข้ามามีบทบาททางการเมืองในระดับท้องถิ่นและนาไปสู่การตอกย้าถึงความสาคัญทางการเมือง ของสตรีในขอบข่ายของการร่วมขับเคลื่อนพัฒนากลไกทางการเมืองในจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้ดาเนินไปได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 3) การปรับเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งโดยใช้ระบบโควตาถือว่ามีผลต่อการเพิ่มพื้นที่ทางการเมืองระดับ ท้องถิ่นของสตรีในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นับเป็นเงื่อนไขผลักดันให้เกิดการส่งเสริมแก่สตรีให้สามารถเข้ามามีบทบาทและมี ส่วนร่วมพัฒนาการเมืองในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/939
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_pol_65Nittaya.pdf1.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น