กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/908
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบคัดกรองนักเรียน โรงเรียนในเครือข่ายนาสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE DEVELOPMENT OF MODEL MANAGEMENT FOR STUDENT SCREENING SYSTEM OF SCHOOLS IN NASAN NETWORK UNDER SURATTHANI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนม์พิชา กิตติญาณกุล
ญาณิศา บุญจิตร์
บรรจง เจริญสุข
คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบ
ระบบคัดกรองนักเรียน
การบริหารสถานศึกษา
วันที่เผยแพร่: 1-กุม-2565
สำนักพิมพ์: การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต
แหล่งอ้างอิง: สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการระบบคัดกรองนักเรียน 2) พัฒนารูปแบบ การบริหารจัดการระบบคัดกรองนักเรียน 3) ตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการระบบคัดกรองนักเรียน โรงเรียนใน เครือข่ายนาสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 มีวิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการบริหารจัดการระบบคัดกรองนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร สถานศึกษา และครู จำนวน 69 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .95 ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบ การบริหารจัดการระบบคัดกรองนักเรียน ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการระ บบคัดกรองนักเรียน โรงเรียนในเครือข่ายนาสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของ รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการระบบคัดกรองนักเรียน โรงเรียนในเครือข่ายนาสาร สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) ผล การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบคัดกรองนักเรียน โรงเรียนในเครือข่ายนาสาร พบว่า มี 4 องค์ประกอบ คือ (1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย บุคลากร งบประมาณ สื่อ เครื่องมือ และนวัตกรรม (2) กระบวนการบริหารจัดการระบบ คัดกรองนักเรียน ใช้วงจรการบริหารคุณภาพ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การตรวจสอบ และการ ปรับปรุง (3) ด้านผลผลิต ประกอบด้วย คุณภาพนักเรียน และสารสนเทศ และ (4) เงื่อนไขความสำเร็จ ประกอบด้วย การบริหารแบบมีส่วนร่วมและการประสานงาน 3) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/908
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
adm_is65_chonpisha.pdf4.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น