กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/874
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการตลาดของผู้จำหน่ายเครื่องสำอางนำเข้า ผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing Development Guidelines for Distributors of Imported Cosmetics through E-Commerce Channels
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประณีตศิลป์ สุวรรณระ
พวงเพ็ญ ชูรินทร์
คำสำคัญ: การพัฒนาการตลาด
ผู้จำหน่ายเครื่องสำอางนำเข้า
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการทางการตลาด 2) เทคนิคการดำเนินงานและการเงิน 3) การจัดการองค์กร และ 4) แนวทางการพัฒนาการตลาดของผู้จำหน่ายเครื่องสำอางนำเข้าผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ตัวแทนของผู้จำหน่ายเครื่องสำอางนำเข้าผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 10 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารจัดการทางการตลาด มีรูปแบบการจำหน่ายทั้งในแบบออนไลน์และ ณ สถานประกอบการ โดยให้ความสำคัญกับเนื้อหาสินค้าเพื่อสร้างสัมพันธ์กับลูกค้า และให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการทางช่องทางออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ มีบริการทั้งแบบพร้อมส่งและแบบสั่งของล่วงหน้า ผ่านช่องทางแพลตฟอร์ม ไลน์, เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์,อินสตราแกรม,ช้อปปี้ และ ลาซาด้า 2) เทคนิคการดำเนินงานและการเงิน ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการลงทุน ซึ่งมีทั้งแหล่งเงินทุนส่วนตัวและสินเชื่อจากธนาคาร ตั้งแต่ 200,000-700,000 บาท โดยแบ่งเงินทุนออกเป็นค่าสินค้าและเงินสำรองเพื่อใช้หมุนเวียน ภายในร้านมีพนักงานทำหน้าที่ตอบคำถามลูกค้าเกี่ยวกับรายละเอียดสินค้าราคา และวิธีการชำระเงิน พนักงานติดตามลูกค้า วิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาด พนักงานคลังสินค้า 3) การจัดการองค์กร สำหรับสินค้าแบบสั่งของล่วงหน้านั้น เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการสั่งผ่านบริษัทรับนำเข้าสินค้า ซึ่งใช้เวลาจัดส่ง 10-20 วัน เมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทยจะทำการติดต่อลูกค้าเพื่อนัดวันรับสินค้า ส่วนสินค้าแบบพร้อมส่ง เริ่มตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า สรุปยอดชำระ แจ้งวันในการจัดส่ง และทำการบรรจุสินค้า และ 4) แนวทางการพัฒนาการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ คือการเลือกสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย มีคุณสมบัติผลิตภัณฑ์และส่วนผสมที่มีลักษณะเด่น ตรวจสอบวัน เดือน ปี ที่ผลิต และเลือกสินค้าที่มีชื่อเสียงให้มากขึ้น ในด้านราคา มีการเลือกตั้งราคาแบบสูงและต่ำสลับกันไป ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีการพัฒนาช่องทางการจำหน่าย และด้านส่งเสริมการจำหน่าย ควรพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการขายเพิ่มมากขึ้น
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/874
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
pranitseel MBA64.pdf737.16 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น