กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/871
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการกาหนดระยะเวลารอการลงโทษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The problem of determining the duration of a suspected the sentence
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุปกาญจน์ อินทรโชติ
อัคคกร ไชยพงษ์
จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ
คำสำคัญ: รอการลงโทษ
การกาหนดระยะเวลา
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาในการรอการลงโทษของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับระยะเวลารอการลงโทษตามกฎหมายของไทยและต่างประเทศ และ 3) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวกับกาหนดระยะเวลารอ การลงโทษจาคุกที่เหมาะสมสาหรับประเทศไทย โดยการศึกษาเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตาราทางวิชาการ งานวิจัย บทความจากวารสารหรือนิตยสารทางกฎหมาย เอกสารประกอบการสัมมนา สถิติ ข้อมูลจากเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ต ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ เกี่ยวกับการกาหนดระยะเวลารอการลงโทษเพื่อสร้างแนวทางการกาหนดระยะเวลารอการลงโทษจาคุกที่มีความสมดุลกับวิธีการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทาความผิดอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์ในการกาหนดระยะเวลารอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 กาหนดให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาให้โอกาสผู้กระทาความผิดกลับตัวเป็นคนดีโดยกาหนดระยะเวลารอการลงโทษได้ไม่เกิน 5 ปี ซึ่งหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจศาลจะต้องคานึงถึงโอกาสในการกระทาความผิดซ้าของผู้กระทาความผิด พฤติการณ์ความร้ายแรงของความผิดตลอดจนโทษจาคุกที่ผู้กระทาความผิดพึงจะได้รับ การกาหนดไว้เช่นนี้เพราะระยะเวลารอการลงโทษมีความสาคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากจะทาให้ผู้กระทาความผิดได้ตระหนักและรู้สานึกในการกระทาความผิดของตน สามารถกลับตัวเป็นคนดีได้โดยไม่กลับไปกระทาความผิดซ้าอีก จากการศึกษาแนวคาพิพากษาศาลฎีกาคดีความผิดอาญาต่อแผ่นดิน ที่ศาลใช้ดุลพินิจรอการลงโทษในข้อหาและสภาพความผิดมีความร้ายแรงลักษณะเหมือนกัน เช่น ความผิดฐานกระทาชาเราเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนและฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน15ปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร ศาลพิพากษากาหนดโทษจาคุกฐานกระทาชาเราเด็กอายุยังไม่เกิน15 ปีไว้ 2 ปี 6 เดือน จานวน 2 กระทง และฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไว้ 1 ปี 6 เดือน รวมโทษจาคุก 5 ปี 18 เดือน แต่ศาลกลับกาหนดระยะเวลารอการลงโทษเพื่อให้จาเลยสานึกในการกระทาและเพื่อป้องกันควบคุมไม่ให้หวนกลับไปกระทาความผิดซ้าเพียง 1 ปี เนื่องจากศาลเห็นว่าจาเลยรับสารภาพตลอดไม่ติดใจสืบพยานและได้นาเงินมามอบให้แก่ผู้เสียหายเพื่อบรรเทาความเสียหายแล้วประกอบกับจาเลยไม่เคยจาคุกมาก่อน ซึ่งระยะเวลารอการลงโทษนั้นน้อยกว่าโทษจาคุกที่ศาลกาหนดให้จาเลยต้องได้รับโทษ ซึ่งก่อให้เกิดความเหลื่อมล้าในการกาหนดระยะเวลารอการลงโทษอันแสดงให้เห็นถึงความไม่สมดุลระหว่างระยะเวลารอการลงโทษกับความร้ายแรงของพฤติการณ์และความเสียหายในคดี และไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการรอการลงโทษ ต่างจากหลักเกณฑ์รอการลงโทษตามกฎหมายอาญาของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ได้กาหนดให้การกาหนดระยะเวลารอการลงโทษจะต้องไม่น้อยกว่าโทษจาคุกที่จาเลยจะต้องได้รับตามคาพิพากษา ดังนั้นผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการกาหนดระยะเวลารอการลงโทษของประเทศไทยให้มีความสมดุลระหว่างระยะเวลารอการลงโทษกับโทษจาคุกที่จะได้รับ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการรอการลงโทษ ดังนี้ 1) สร้างมาตรฐานขั้นต่าในการที่ศาลกาหนดระยะเวลารอการลงโทษจะต้องไม่น้อยกว่าโทษจาคุกตามคาพิพากษาที่จาเลยจะได้รับเพื่อให้ระยะเวลารอการลงโทษเป็นระยะเวลาที่ได้สมดุลกับลักษณะความร้ายแรงของการกระทาความผิดหรือพฤติการณ์ในการกระทาความผิดและความเสียหายที่เกิดขึ้น ประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการกาหนดระยะเวลาในการให้โอกาสผู้กระทาความผิดในคดีที่มีการกระทาความผิดลักษณะเดียวกัน และ 2) ควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 วรรคแรก โดยเพิ่มบทบัญญัติในส่วนของการกาหนดระยะเวลารอการลงโทษจาคุกนั้นจะต้องไม่น้อยกว่าโทษจาคุกที่จาเลยจะได้รับตามคาพิพากษา อันเป็นการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทาความผิดจากการใช้มาตรการรอการลงโทษเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมในสังคมไทยได้อย่างแท้จริง
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/871
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
suppakarn Law64.pdf1.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น