กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/848
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | พนมกร รุยันต์เฟื่องชัย | en_US |
dc.contributor.author | จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ | en_US |
dc.contributor.author | นพดล ทัดระเบียบ | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-04-19T03:21:01Z | - |
dc.date.available | 2021-04-19T03:21:01Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.citation | การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ | en_US |
dc.identifier.uri | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/848 | - |
dc.description | การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ความได้สัดส่วนในการกาหนดระยะเวลายุติการตั้งครรภ์ในกฎหมายในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ 2) เพื่อศึกษาความได้สัดส่วนในการยุติการตั้งครรภ์ตามระยะเวลาที่กาหนด ในกฎหมาย ของต่างประเทศเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศไทย 3) เพื่อหามาตรการที่จาเป็นอย่างอื่นทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาการยุติการตั้งครรภ์ให้ได้สัดส่วนกันระหว่างการคุ้มครองสิทธิทารกในครรภ์มารดาและสิทธิของหญิงตั้งครรภ์ในการยุติการตั้งครรภ์ โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารโดยค้นคว้าข้อมูลจากตาราทางวิชาการ บทความที่เกี่ยวข้อง ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เอกสารประกอบการอบรมและข้อมูลทางเว็บไซต์ต่าง ๆ งานวิจัย แนวคาวินิจฉัยของศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวกับการทาแท้ง กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์ให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายอาญา ก่อให้เกิดความได้สัดส่วนในการบังคับใช้กฎหมายกับการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ผลการศึกษาพบว่า บทบัญญัติกฎหมายอาญายังไม่ได้สัดส่วนกันในเรื่องดังต่อไปนี้ 1) ก่อนศาลรัฐธรรมนูญมีคาวินิจฉัยที่ 4/2563 กฎหมายอาญาจากัดสิทธิของหญิงตั้งครรภ์เกินความจาเป็น แต่ภายหลังมีการแก้ไขกฎหมายอาญาแล้ว กลับบัญญัติขยายสิทธิในการทาแท้งช่วงอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ออกไปจนเกินสมควรแก่การใช้สิทธิในเนื้อตัวร่างกายและการกาหนดเจตจานงในเรื่องอนาคตของหญิงตั้งครรภ์ โดยไม่ได้มีการควบคุมการใช้สิทธินั้น กฎหมายอาญาไม่ได้กาหนดให้แพทย์มีดุลยพินิจในการวินิจฉัยว่าควรยุติการตั้งครรภ์หรือไม่ ทาให้หญิงตั้งครรภ์สามารถร้องขอยุติการตั้งครรภ์ได้ทุกกรณีไม่ว่าจะมีเหตุจาเป็นหรือไม่ จึงตกเป็นภาระแก่แพทย์ที่จะมีความเสี่ยงในการ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือถูกร้องเรียนหากมีความเห็นว่าไม่ควรยุติการตั้งครรภ์ 2) ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี การยุติการตั้งครรภ์ทาได้ตามเหตุที่ระบุไว้โดยต้องอาศัยหลักความจาเป็น ของประเทศไทย ไม่ได้คานึงถึงเหตุความจาเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ในฝรั่งเศส การยุติการตั้งครรภ์สามารถกระทาได้โดยกาหนดเงื่อนไขในกระบวนการทางการแพทย์ และหญิงผู้เยาว์ไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองแต่ต้องมีบุคคลบรรลุนิติภาวะอยู่ด้วย ตามกฎหมายของประเทศไทยยังไม่ได้กาหนดเงื่อนไขการดาเนินการทางการแพทย์ที่และหญิงไม่ต้องมีผู้รับรองในการยุติการตั้งครรภ์ ในสหรัฐอเมริกา แพทย์มีดุลยพินิจในการวินิจฉัยว่าควรจะทาแท้ง แต่ของประเทศไทยไม่มีการกาหนด 3) กฎหมายอาญาไม่กาหนดเหตุจาเป็นอื่น ๆ ให้ครอบคลุมปัญหาทั้งหมดในการร้องขอยุติการตั้งครรภ์ ข้อบังคับแพทยสภาไม่ได้กาหนดเงื่อนไขทางการแพทย์ตามระบบให้คาปรึกษาก่อนยุติการตั้งครรภ์ ข้อเสนอแนะการศึกษา การสร้างสมดุลระหว่างสิทธิของหญิงและทารกทาได้ด้วยการคุ้มครองให้ได้สัดส่วนกัน ๆ ดังนี้ 1) การยุติการตั้งครรภ์ให้อยู่ภายใต้ดุลยพินิจการวินิจฉัยทางการแพทย์และต้องยุติการตั้งครรภ์ตามลักษณะข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ก่อนดาเนินการยุติการตั้งครรภ์ต้องให้ผู้ร้องขอได้รับคาแนะนาปรึกษาตามคู่มือการปฏิบัติงานยุติการตั้งครรภ์ และให้มีการแจ้งสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ของทารกในครรภ์ตามหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้แก่มารดาทราบทุกครั้ง 2) การยุติการตั้งครรภ์สาหรับอายุครรภ์ช่วงเกินกว่า 12 สัปดาห์ไม่เกิน 20 สัปดาห์ หญิงต้องมีบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วมายินยอมด้วยเพื่อเป็นการรับรองมูลเหตุการร้องขอและความผิดพลาดอันอาจเกิดจากการยุติการตั้งครรภ์ และอาจร้องขอได้ในเหตุความจาเป็นเพิ่มเติมจากที่กฎหมายกาหนดไว้ต่อไปนี้ อีกด้วย (1) หญิงตั้งครรภ์มีความขัดสนทางเศรษฐกิจหรือปัญหาในครอบครัวอย่างแสนสาหัส (Economic indications and Social) (2) พันธุกรรมของทารกในครรภ์เกิดจากบิดมารดามีสายโลหิตเดียวกัน (Incest Taboo) (3) สถานะของบุคคลส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์มีสถานการณ์ที่ยากลาบากยากยิ่ง (available on request) 3) หญิงตั้งครรภ์เนื่องมาจากการกระทาความผิดทางเพศ ไม่จาต้องแสดงหลักฐานการกระทาความผิดอาญาและห้ามมิให้สถานพยาบาลโฆษณาหรือแสดงป้ายการให้บริการยุติการตั้งครรภ์ | en_US |
dc.description.sponsorship | บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | บัณฑิตวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ | en_US |
dc.title | ความได้สัดส่วนในการยุติการตั้งครรภ์ตามระยะเวลาที่กาหนดในกฎหมาย | en_US |
dc.title.alternative | The proportionality of the abortion by the time stipulated in the law | en_US |
dc.type | Article | en_US |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Laws : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2panomkorn_is_law64.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น