กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/847
ชื่อเรื่อง: | ความเสมอภาคทางภาษีการรับมรดกในการโอนทรัพย์สินข้ามลำดับชั้นอายุ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Equality of Generation-Skipping Inheritance Tax |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รชิตะ อัครชูวงศ์ นพดล ทัดระเบียบ จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ |
คำสำคัญ: | ภาษีการรับมรดก การโอนทรัพย์สินข้ามลำดับชั้นอายุ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | บัณฑิตวิทยาลัย |
แหล่งอ้างอิง: | การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาความเสมอภาคทางภาษีการรับมรดก ในการโอนทรัพย์สินข้ามลำดับ ชั้นอายุ ต่อแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินข้ามลำดับชั้นอายุในราชอาณาจักรไทย และ 2) เสนอแนะมาตรการทางกฎหมาย เพื่อสร้างและส่งเสริมความเสมอภาคทางภาษีการรับมรดก ในการโอนทรัพย์สินข้ามลำดับชั้นอายุ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการทางกฎหมาย เกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินข้ามลำดับชั้นอายุที่เหมาะสมของราชอาณาจักรไทย โดยการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มุ่งเน้นการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary research) จากตัวบทกฎหมาย ตำราวิชาการ วิทยานิพนธ์ บทความวารสารทางกฎหมาย เอกสารประกอบการสัมมนา สถิติ และข้อมูลจากเว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ต ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เกี่ยวกับความเสมอภาคทางภาษีการรับมรดก การป้องกันการหลบหลีกภาษีสำหรับการโอนทรัพย์สินข้ามลำดับชั้นอายุ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหา ข้อสรุป และข้อเสนอแนะของราชอาณาจักรไทยต่อไป ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะที่เป็นการโอนทรัพย์สินข้ามลำดับชั้นอายุ (Generation-Skipping Transfer) นั้น ได้แก่ การทำพินัยกรรมโอนทรัพย์สินให้แก่ทายาทตั้งแต่รุ่นหลานของตนลงไป โดยไม่โอนทรัพย์สินให้ทายาทที่ยังมีชีวิตอยู่ตามลำดับชั้นอายุ ด้วยการกำหนดให้ทายาทที่ถูกโอนข้ามลำดับชั้นอายุ ยังคงได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่โอนนั้นอยู่ ก่อนที่ทรัพย์สินจะตกทอดแก่ทายาทที่ถูกระบุให้เป็นผู้รับโอน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการหลบหลีกภาษี (Tax Avoidance) ที่ขัดต่อหลักความเสมอภาคในทางภาษี ในแนวตั้ง (Vertical Equality) ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม และก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำของการกระจายทรัพยากรและความมั่งคั่ง ทางทรัพย์สิน อันเป็นช่องว่างทางกฎหมายที่มีอยู่ โดยส่งผลกระทบต่อระบบภาษีมรดกของราชอาณาจักรไทย ในการจัดเก็บในรูปแบบของภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax) ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ที่สำคัญอยู่ 2 ประการ กล่าวคือ ประการแรก ผลกระทบต่อความเสมอภาคทางภาษีมรดกในการกระจายรายได้ และประการที่สอง ผลกระทบต่อความมีประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจ ในการจัดเก็บภาษีมรดก 2) ความจำเป็นในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อสร้างและส่งเสริมความเสมอภาคทางภาษีมรดก สำหรับการโอนทรัพย์สินข้ามลำดับชั้นอายุ เพื่อให้กลไกการทำงานของระบบการจัดเก็บภาษีดังกล่าวของราชอาณาจักรไทย ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะ ควรกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีการรับมรดก สำหรับการโอนทรัพย์สินข้ามลำดับชั้นอายุ เพื่อลดโอกาสในการหลบหลีกภาษีการรับมรดก และปิดช่องว่างต่างๆ เพื่อความเป็นธรรม ความมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการจัดเก็บภาษีการรับมรดกนั้น ได้แก่ 1) มาตรการทางกฎหมายเพื่อสร้างและส่งเสริมความเสมอภาคทางภาษีมรดกในการกระจายรายได้ โดยการกำหนดฐานภาษีการรับมรดก หรือกำหนดมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับมรดก ซึ่งจะต้องเสียภาษีการรับมรดก ให้ลดลง รวมถึงกำหนดอัตราภาษีการรับมรดกแบบผสมระหว่างอัตราก้าวหน้าและคงที่ การกำหนดรูปแบบการจัดเก็บภาษีการโอนทรัพย์สินข้ามลำดับชั้นอายุ (Generation-Skipping Transfer Tax) กำหนดลักษณะการโอนทรัพย์สินข้ามลำดับชั้นอายุ และกำหนดอัตราภาษีการรับมรดกเพิ่มเติม สำหรับการโอนทรัพย์สินข้ามลำดับชั้นอายุ และ 2) มาตรการทางกฎหมายเพื่อสร้างและส่งเสริมความมีประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจในการจัดเก็บภาษีมรดก โดยการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีการรับมรดก อันได้แก่ ค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวเนื่องจากการตายของเจ้ามรดก และค่าลดหย่อนภาษี สำหรับกรณีทั่วไป และค่าลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม สำหรับกรณีผู้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน กรณีผู้รับมรดกเป็นพี่หรือน้อง และกรณีผู้รับมรดกเป็นผู้พิการ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้การโอนทรัพย์สินเป็นไปตามลำดับชั้นอายุของทายาทผู้รับมรดก ซึ่งทำให้การกระทำที่มีผลเป็นการโอนทรัพย์สินข้ามลำดับชั้นอายุนั้นลดลง และส่งผลให้รัฐสามารถ ที่จะเร่งรัดจัดเก็บภาษีได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น |
รายละเอียด: | หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
URI: | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/847 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Laws : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
rachita_is_law64.pdf | 990 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น