กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/654
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorธารทิพย์ ดำยศen_US
dc.date.accessioned2019-06-18T04:06:04Z-
dc.date.available2019-06-18T04:06:04Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/654-
dc.description.abstractจากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3 คะแนนเฉลี่ยในหลายกลุ่มสาระต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับ สพฐ. และระดับประเทศ ซึ่งเป็นผล มาจากการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยเรื่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนิเทศภายใน ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูจำนวน 521 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 217 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.89 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ ได้แก่ การทดสอบที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยภาพรวม และรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการ ปฏิบัติการนิเทศ ด้านการประเมินผลและรายงานผลการนิเทศ ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือในการนิเทศ ด้านการวางแผนการนิเทศและกำหนดทางเลือก และด้านการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบการนิเทศภายในของผู้บริหาร สถานศึกษาในโรงเรียนนาดเล็ก จำแนกตามเพศ และวุฒิการศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกัน จำแนกตาม ประสบการณ์ในการสอน พบว่า แตกต่างกัน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างสื่อและเครื่องมือในการนิเทศ ด้านการปฏิบัติการนิเทศ และด้านการประเมินผลและรายงานผลการนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ดังนั้น ควรมีการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวกับการสร้างสื่อและเครื่องมือการนิเทศ กระบวนการนิเทศ และการประเมินผลการนิเทศen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectผู้บริหารสถานศึกษาen_US
dc.titleการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3en_US
dc.title.alternativeTHE INTERNAL SUPERVISION OF SCHOOLS AS PERCEIVED BY TEACHERS IN THE SMALL SCHOOLS UNDER SURATTHANI 3 PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICEen_US
dc.typeOtheren_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Development Strategy: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is-tranthip.pdf27.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น