กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/186
ชื่อเรื่อง: | ความหลากหลายทางชีวภาพของเห็บจุลชีพก่อโรคและซิมไบออนต์ในเห็บในภาคใต้ของประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | BiodiversityofTicks, Tick-BornePathogen and Endosymbiont inSouth ofThailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภควดี รักษ์ทอง อรุณี อหันทริก |
คำสำคัญ: | ความหลากหลาย ชีวภาพ จุลชีพ ซิมไบออนต์ เห็บ Endosymbiont |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ; มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของเห็บ จุลชีพก่อโรคและซิมไบออนต์ที่พบในเห็บในภาคใต้ของประเทศไทย จากการศึกษาความหลากหลายของชนิด ระยะและจำนวนเห็บจากโฮสต์และสิ่งแวดล้อมของเห็บจำนวน 445 ตัว เห็บที่พบมี 3 ระยะได้แก่ ระยะตัวอ่อน ตัวกลางวัย และตัวเต็มวัยโดยเก็บจากโฮสต์9 ชนิด ได้แก่ สุนัข แมว ไก่ เป็ด วัว แพะ ควาย งู กระต่ายและจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ บริเวณผนังบ้าน เห็บจากโฮสต์แบ่งเป็นตัวเต็มวัยร้อยละ 69.82 และเป็นระยะอื่น ๆ ร้อยละ 30.18โดยเห็บในระยะตัวอ่อนและตัวกลางวัยสามารถจำแนกได้เพียงระดับจีนัส ซึ่งมี 2 จีนัส ได้แก่Haemaphysalissp. และ Rhipicephalus sp. เห็บในระยะตัวเต็มวัยสามารถจำแนกได้ 5 สปีชีส์ ได้แก่ H.bispinosa, A. helvolum, H. wellingtoni,R. microplus และ R. sanguineus s.l.ส่วนเห็บจากสิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ้น 11 ตัว เป็นเห็บระยะตัวอ่อนและตัวกลางวัยร้อยละ 9.09 เป็นเห็บจีนัสคือRhipicephalus sp. ส่วนเห็บระยะตัวเต็มวัยมี 1 สปีชีส์เช่นกัน คือ R. sanguineuss.l.คิดเป็นร้อยละ 90.91จากการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีความจำเพาะของเห็บและโฮสต์ที่อาศัย เมื่อศึกษาด้านการกระจายตัวพบว่า R. sanguineus เป็นเห็บที่พบมากที่สุดและมีการกระจายไปทั่วภาคใต้ |
URI: | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/186 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Social Engagement: Research Reports |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FullText.pdf | 15.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด Request a copy |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น