กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1038
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุทธิพงศ์ ปานเพชร | en_US |
dc.contributor.author | นพดล ทัดระเบียบ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-09-23T02:35:56Z | - |
dc.date.available | 2023-09-23T02:35:56Z | - |
dc.date.issued | 2566-09-16 | - |
dc.identifier.citation | บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ | en_US |
dc.identifier.uri | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1038 | - |
dc.description | บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยการจัดทำบริหารสาธารณะด้านการศึกษา และ 2) การบังคับใช้พระราชบัญญัติการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเกี่ยวกับหลักประกันสิทธิการศึกษา เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร ตำรากฎหมาย ตัวบทกฎหมาย บทความวิชาการ บทความวิจัย เอกสารประกอบการสัมมนา สถิติ และข้อมูลจากเว็บไซต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยการเขียนแบบพรรณนาความเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการพ้นสภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาทุกฉบับได้บัญญัติหลักประกันสิทธิการศึกษาของนักศึกษาไว้ในทุกระดับ ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏก็เช่นเดียวกัน มหาวิทยาลัยจะปฏิเสธการรับผู้สมัครผู้ใดเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย หรือยุติ หรือชะลอการศึกษาของนักศึกษาผู้ใดด้วยเหตุเพียงว่าผู้นั้นขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริงเพื่อจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษาต่าง ๆ แก่มหาวิทยาลัยมิได้ แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวก็ไม่ได้ให้คำนิยามของคำว่า “ขาดแคลนทุนทรัพย์” ประกอบกับข้อบังคับว่าด้วยการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏได้กำหนด ให้นักศึกษาพ้นสภาพเมื่อไม่ชำระค่าธรรมเนียมการศึกษา เป็นผลให้สถานะความเป็นนักศึกษาต้องพ้นสภาพเพราะสถานะทางการเงิน อันเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติราชภัฏ ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พุทธศักราช 2547 ควรบัญญัติเพิ่มความในวรรคท้ายว่า “หลักเกณฑ์การพิจารณาว่านักศึกษาผู้ใดขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด” และยกเลิกข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการศึกษาที่กำหนดให้นักศึกษาต้องพ้นสภาพเนื่องจากไม่ชำระค่าธรรมเนียมการศึกษานั้นเสีย | en_US |
dc.description.sponsorship | บัณฑิตวิทยาลัย และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฏร์ธานี | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.subject | การพ้นสภาพนักศึกษา | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยราชภัฏ | en_US |
dc.subject | ขาดแคลนทุนทรัพย์ | en_US |
dc.title | ปัญหาทางกฎหมาย การพ้นสภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ | en_US |
dc.title.alternative | Legal Issues Regarding the Termination of Student Status at Rajabhat Universities Due to Their Financial Insufficiency | en_US |
dc.type | Article | en_US |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Laws : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
is66law_Suttipong.pdf | บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต | 689.74 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น