กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1030
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorภานุชนารถ หนูสังข์en_US
dc.contributor.authorจิตรดารมย์ รัตนวุฒิen_US
dc.date.accessioned2023-09-16T10:18:30Z-
dc.date.available2023-09-16T10:18:30Z-
dc.date.issued2566-09-01-
dc.identifier.citationบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์en_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1030-
dc.descriptionบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับสิทธิความเป็นมนุษย์ในสถานศึกษา 2. เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการปูองกันการกลั่นแกล้งในสถานศึกษาทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายในการปูองกันการกลั่นแกล้งในสถานศึกษา โดยอาศัยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพจากการรวบรวมข้อมูลเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ กฎหมาย หนังสือ ตำรา บทความวิชาการคำพิพากษาของศาล และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยนำข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรการหรือแนวทางในการปูองกันการกลั่นแกล้งในสถานการศึกษา ในลักษณะการเรียบเรียงแบบพรรณนาความ จากการศึกษา พบว่าประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายปูองกันการกลั่นแกล้งในสถานศึกษา กฎหมายที่มีอยู่ เช่น กฎหมายละเมิด ดูหมิ่นและหมิ่นประมาท จึงไม่อาจใช้ปูองกันการกลั่นแกล้งในสถานศึกษาได้ ซึ่งแตกต่างจากประเทศฟิลิปปินส์ที่มีพระราชบัญญัติต่อต้านการรังแกกัน ค.ศ. 2013 ที่บัญญัติกำหนดโทษทางปกครองให้สอดคล้องกับลักษณะของการกลั่นแกล้ง ด้วยการให้ผู้กลั่นแกล้งต้องเข้ารับการฟื้นฟู อีกทั้งยังกำหนดโทษทางปกครองส าหรับโรงเรียนของรัฐหากไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในส่วนของโรงเรียนเอกชนหากมีการปล่อยปละละเลยให้มีการกลั่นแกล้งในโรงเรียนก็จะถูกเพิกถอนใบอนุญาต สอดคล้องกับกฎหมายของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ที่กำหนดมาตรการการกลั่นแกล้ง โดยกำหนดมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยในโรงเรียน โดยบัญญัติให้ผู้ถูกกลั่นแกล้งจะต้องไม่ถูกพักการเรียนหรือถูกไล่ออกจากโรงเรียน ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะต่อการก าหนดมาตรการทางกฎหมายในการปูองกันการกลั่นแกล้งในสถานศึกษา ดังนี้ 1.ประเทศไทยจึงควรกำหนดมาตรการปูองกันพฤติกรรมการกลั่นแกล้งในโรงเรียนด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 โดยกำหนดให้โรงเรียนทุกโรงเรียนมีมาตรการปูองกันพฤติกรรมการกลั่นแกล้ง และให้โรงเรียนก าหนดขั้นตอนการจัดการปัญหา ดังกล่าว 2. ประเทศไทยควรมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการปูองกันการกลั่นแกล้งโดยเฉพาะ โดยใช้แนวทางในการพระราชบัญญัติต่อต้านการรังแกกัน ค.ศ. 2013 และพระราชบัญญัติความปลอดภัยในโรงเรียน ของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย และสหรัฐอเมริกา เพื่อให้มีมาตราความปลอดภัยในโรงเรียน และสามารถช่วยลดปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งในโรงเรียนได้en_US
dc.description.sponsorshipบัณฑิตวิทยาลัย และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectสถานศึกษาen_US
dc.subjectการกลั่นแกล้งen_US
dc.subjectความปลอดภัยen_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการกลั่นแกล้งในสถานศึกษาen_US
dc.title.alternativeLegal measures to prevent bullying in academyen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is66law_Phanutnat.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต688.21 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น