กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1028
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจักรกฤษณ์ สวนนุชen_US
dc.contributor.authorจิตรดารมย์ รัตนวุฒิen_US
dc.date.accessioned2023-09-16T10:09:25Z-
dc.date.available2023-09-16T10:09:25Z-
dc.date.issued2566-09-01-
dc.identifier.citationบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์en_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1028-
dc.descriptionบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาหปัญหาเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ กรณีผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาล 2) ความเป็นมาและแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการปกครองลักษณะท้องที่ 3) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม กรณีผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาล และ 4) แนวทางในการกำหนดนิยามความหมายของผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาลของกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ ตำรา บทความ วิชาการ งานวิจัยและเอกสาร โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และใช้วิธีเรียบเรียงแบบพรรณนาความ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการกำหนดนิยามความหมายของผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาลของกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสราษภร์ธานี ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่เป็นกฎหมายที่นำมาใช้ในการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ประกาศใช้ เมื่อ พ.ศ. 2457 กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ทว่าในประเด็นลักษณะต้องห้ามกรณีผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาล กฎหมายมิได้กำหนดนิยาม หรือมีการอธิบายขยายความของคำว่า "ผู้มีอิทธิพล" หรือ "เสียชื่อในทางพาล" ไว้แต่อย่างใด ทำให้กรอบการพิจารณาเพื่อการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาลักษณะต้องห้ามในกรณีดังกล่าวเป็นช่องว่างทางกฎหมายที่ไม่มีความชัดเจน ส่งผลให้เมื่อต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามกรณีผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาลจึงต้องตีความอย่างความหมายทั่วไปหรือตามค่านิยมประจำถิ่น แม้ว่าในปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยจะมีการกำหนดกรอบแนวทางในการพิจารณาถึงกรณีผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาลขึ้นในลักษณะแนวปฏิบัติเป็นหนังสือเวียนก็ตาม แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมไปถึงอาชญากรรมที่เป็นการกระทำความผิดอันส่งผลต่อชุมชนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะความผิดอาชญากรรมที่รุนแรงและกระทบต่อความมั่นคง ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรกำหนดนิยาม "ผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาล" ที่เป็นลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ ตามแนวทางการอธิบายความหมายของหนังสือกระทรวง มหาดไทยที่ มท. 0207/ว.33 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2529 และตามคำสั่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 153/2563 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2563 เป็นนัยสำคัญ โดยการแก้ไขปัญหาในระยะแรก กระทรวงมหาดไทยควรจัดทำเป็นหนังสือภายในเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของเจ้าพนักงานที่รับผิดชอบการวินิจฉัยลักษณะต้องห้ามกรณีผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาลตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ไปพลางก่อน โดยเรียกชื่อว่า "หนังสือกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน กรณีผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาล" และในระยะที่สอง กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครองควรตราระเบียบในลักษณะ "กฎ" ขึ้นเป็นหลักเกณฑ์การพิจารณาลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน กรณีผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาลตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ขึ้นเป็นการเฉพาะen_US
dc.description.sponsorshipบัณฑิตวิทยาลัย และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectการปกครองท้องที่en_US
dc.subjectคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามen_US
dc.subjectผู้มีอิทธิพลen_US
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามของกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ ศึกษากรณี ผู้มีอิทธิพลหรือเสียชื่อในทางพาลen_US
dc.title.alternativeLegal problems concerning the prohibited characteristics of the local administrative law in case of an influential person or being infamous for a bully wayen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is66law_Jukkrit.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต845.76 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น